การผ่าตัดถอดเต้านมเทียม

หัตถการผ่าตัด

เต้านมเทียมจากการเสริมหน้าอกครั้งก่อนหน้า มักถูกใส่ไว้ใต้เนื้อเยื่อเต้านม หรือลึกลงไปหลังกล้ามเนื้อเต้านม ในการผ่าตัดถอดเต้านมเทียมศัลยแพทย์จะถอดเต้านมเทียมนี้ออกผ่านทางแผลผ่า ตัดที่ใต้เต้านมหรือรอบ ๆ วงปานนม

หลังทำหัตถการแล้ว เจ้าหน้าที่จะพาออกจากห้องผ่าตัดไปยังห้องพักฟื้น เพื่อให้การดูแลจนกระทั่งฟื้นตัวอย่างเต็มที่หลังการวางยาสลบ จากนั้นจะถูกไปยังห้องพัก โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลจะตรวจ สอบวัสดุปิดแผล และตรวจสอบชีพจรและความดันโลหิตของคุณเป็นระยะ ๆ

พักรักษาตัวในโรงพยาบาล

1 คืน

ระยะเวลาการผ่าตัด

2 - 3 ชั่วโมง

ยาชา / ยาสลบ

การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว

การดูแลก่อนการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด โปรดแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบถึงอาการแพ้ โรคประจำตัว และยาที่ กำลังใช้ (ทั้งที่มีและไม่มีใบสั่งยา)
ควรหลีกเลี่ยงแอสไพรินและยาที่มีส่วนผสมของแอสไพรินหรือบรูเฟน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสในการมีเลือดออกหลังการผ่าตัด
ไม่ควรสูบบุหรี่เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากการสูบบุหรี่ อาจส่งผลต่อ ปฏิกิริยาต่อยาชาและทำให้หายช้าลง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องแจ้งศัลยแพทย์ก่อนการผ่าตัด
การผ่าตัดถอดเต้านมเทียม

การดูแลหลังการผ่าตัด

หลังจากถอดเต้านมเทียมออกแล้ว มักมีอาการไม่สบายตัว อาการบวม รอยฟกช้ำ เต้านมแข็ง และมีอาการปวด /เจ็บแปลบที่เต้านม ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวและมักจะลดลงหลังผ่านไป 2-3 สัปดาห์ แต่อาจใช้เวลา หลายเดือนจนกว่ารูปร่างของเต้านมจะเข้าที่

ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์เกี่ยวกับระยะเวลาในการหลีกเลี่ยงการขับรถ และไม่ควรขับรถจน กว่าจะมั่นใจว่าสามารถหยุดรถฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย โดยไม่รู้สึกไม่สบายตัว นอกจากนี้ จะต้องหลีกเลี่ยงการ ออกกำลังกายหนัก การยกของหนัก การว่ายน้ำ และการดูดฝุ่นเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ในการนัด ติดตามผลหลังการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะประเมินและให้คำแนะนำว่า จะสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้เมื่อ ใด โดยปกติแล้วผู้ป่วยจะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 2 สัปดาห์

การพักฟื้น

ระยะเวลาการพักฟื้นจะแตกต่างกันไปตามระดับของหัตถการ โดยผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 2 สัปดาห์

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

หัตถการผ่าตัดทุกประเภทต่างก็มีความเสี่ยง และจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดถอดเต้านมเทียม นอกจากนี้ แต่ละหัตถการต่างก็มีข้อ จำกัด ดังนั้นการเลือกวิธีการผ่าตัดจะอาศัยการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับประโยชน์ที่อาจได้รับ แม้ว่าผู้หญิงโดยส่วนใหญ่จะไม่พบภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ แต่ควรปรึกษาหารือกับศัลยแพทย์เพื่อให้ แน่ใจ ว่าผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และผลที่ตามมาของการผ่าตัดถอดเต้านมเทียม

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดถอดเต้านมเทียม ได้แก่
– การติดเชื้อ
– เกิดแผลเป็นมากขึ้น
– ผิวหนังหย่อนคล้อย
– เต้านมหย่อนคล้อยและหย่อนยานมากขึ้น
– อาจสูญเสียความรู้สึกที่เต้านม
– ปัญหาทางอารมณ์ที่อาจเกิดจากความตกใจกับขนาดเต้านมเล็กลง
– อาจมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากยาสลบ (ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกการผ่าตัด)